พลังการพูดตอน การพูดเพื่อจูงใจ

ศิลปะอย่างหนึ่งที่เป็นปัจจัยในการเอื้ออำนวยให้การทำงานการขายของเราให้ ประสบความสำเร็จได้เป็อย่างดี คือ การจูงใจ ผู้ฟังให้มีความคิดและความเห็นให้ตรงกับเรา แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ เราจะมีหลักเบื้องต้นอย่างไรที่ทำให้การพูดของเรา สามารถจูงใจผู้ฟังหรือผู้มุ่งหวังได้ ไม่มี ใครเลยที่อยากล้มเหลวจากการชักชวนผู้มุ่งหวังให้ตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจกับ เรา ถ้าเป็นไปได้ ถ้าชวนหนึ่งได้หนึ่ง ชวน 50 ได้ 50 ชวน 100 ได้ 100 เลยยิ่งดี

หลักการที่จะทำให้การพูดของเราเกิดแรงจูงใจให้กับผู้มุ่งหวังได้ ซึ่งท่านนักขายสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี จะต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อนว่า เราจะจูงใจเพื่ออะไร สำหรับวัตถุประสงค์ในการพูดเพื่อจูงใจ ในวัตถุประสงค์หลักคือ

1.เพื่อให้เห็นด้วยกับแนวทางหรือความคิดของผู้พูด นักขายทุกคนย่อมมีความเข้าใจในสินค้าและแผนการตลาดของตนเป็นอย่างดี ซึ่งมีความประทับใจและมั่นใจในสินค้าของตนอยู่แล้ว เราจึงควรพยายามใช้ข้อมูลที่มีอยู่นี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยนำเสนอให้ผู้มุ่งหวังของเราได้เกิดความรู้สึกและเกิดความประทับใจเหมือน กับเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่าย เพราะเราพูดจากประสบการณ์โดยตรงของเรา การนำเสนอย่อมเป็นที่น่าสนใจและมีคุณสมบัติที่ช่วยจูงใจได้เป็นอย่างดีอยู่ แล้ว เพียงแต่เราต้องพยายามเรียบเรียงให้เป็นขั้นเป็นตอน ใช้ถ้อยคำให้สละสลวย และซักซ้อมจนเกิดความคล่องให้เป็นเหมือนมืออาชีพ

2.เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิม ๆ และให้เกิดความคิดใหม่ ๆ สิ่งหนึ่งที่สามารถจูงใจได้เป็นอย่างดีก็คือ ความคิดใหม่ ๆ ซึ่งมีความน่าสนใจในตัวของเรื่องราวอยู่แล้ว เช่น คุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสและผิว ขาวได้ในเวลาเพียงไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งใครก็อยากลอง เพียงแต่ว่าเราต้องเปิดใจเขาให้ได้ว่า ใช้แล้วเกิดประสิทธิผลอย่างที่นำเสนอจริงและปลอดภัย ไม่มีผลกระทบข้างเคียง หรือนำเสนอเพื่อให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตจากการทำงานประจำมาเป็นนัก ธุรกิจขายตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบเครือข่าย แล้วจะทำให้ชีวิตของเขามีความเจริญก้าวหน้า และได้รับความสำเร็จมากกว่าตอนที่เขาทำงานประจำอย่างไร เช่น เขามีเพื่อนในที่ทำงาน ประจำอยู่แล้ว เมื่อมาทำธุรกิจขายตรงแล้วเขามีเพื่อนที่มีความแตกต่างที่ดีกว่าอย่างไร หรือความสำเร็จที่เขาจะได้รับในการทำธุรกิจขายตรงมีความแตกต่างจากความ สำเร็จในงานประจำของเขาอย่างไร เป็นต้น ทุกคนพร้อมจะเปลี่ยนแปลงชีวิตในรูปแบบใหม่ ถ้าชี้ให้เขาเห็นได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีกว่า

3. เพื่อให้เกิดความประทับใจในตัวผู้พูด เรื่องที่พูด ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการจูงใจผู้มุ่งหวังก็คือ ตัวผู้พูดและเรื่องที่พูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้พูด ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้ผู้มุ่งหวังเกิดความรู้สึก เชื่อใจและไว้ใจในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจ ด้วย และจะทำให้ผู้มุ่งหวังเกิดความรู้สึกไว้ใจและเชื่อใจได้อย่างไร ? ความจริงใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องมีในคุณสมบัติของตัวผู้พูด เพราะเป็นความรู้สึกภายในที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับได้ การถ่ายทอดด้วยความจริงใจมีเสน่ห์แห่งการจูงใจอยู่ในตัว เพียงแค่เราจับเอาเสน่ห์ที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ผสมผสานกับข้อมูลที่มีอยู่ใน ตัวของเรา ก็จะเกิดเป็นแรงจูงใจได้เป็นทวีคูณ ความจริงใจอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นจาก ความศรัทธาในสินค้าและองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เราต้องทาน ต้องใช้ อย่างต่อเนื่องแล้วสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง จนมั่นใจว่าดีจริง (ซึ่งสินค้าต้องดีจริงด้วย) เพราะถ้าเราไม่มีการใช้อย่างต่อเนื่อง การนำเสนอนอกจากว่าจะทำให้ความศรัทธาแล้ว ยังจะเกิดความจริงใจในการจูงใจเป็นเหมือนเงาตามตัวอีกด้วย ความจริงจังในการพูด เป็นสื่อที่แสดงออกให้เห็นถึงความตั้งใจจริงและความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจ ของเราอีกด้วย

นอกจากเรื่องความประทับในตัวผู้พูดแล้ว เรื่องที่พูดก็มีความสำคัญที่จะส่งเสริมให้การพูดมีความน่าจูงใจมากยิ่งขึ้น โดยเรื่องที่พูดจะต้องมีเบื้องต้น 2 ประการคือ เป็นเรื่องจริง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นประสบการณ์โดยตรงของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง (จากการใช้ผลิตภัณฑ์) หรือเกิดจากคนใกล้ชิด ซึ่งนอกจากทำให้มั่นใจในการพูดแล้วยังเกิดความคล่องแคล่วในการพูดอีกด้วย มีข้ออ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นจากการเก็บข้อมูลโดยตรงด้วยตัวเอง จากบริษัท หรือจากองค์กรต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา ซึ่งคนทั่วไปมักจะเชื่อข้ออ้างอิงมากกว่าสิ่งที่เราพูดเพียงอย่างเดียว หวังว่าท่านนักขายคงจะได้ข้อคิดเพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อให้การพูดของเราเป็นการพูดที่จูงใจผู้มุ่งหวังได้เป็นอย่างดีนะครับ

ก่อนจากกันฉบับนี้ขอฝากวาทะเสริมสร้างพลังปัญญาสำหรับนักขาย จาก ร้อยเอก ศ.ดร.จิตรจำนงค์ สุภาพ ในการพูดเพื่อจูงใจว่า “การพูดเพื่อให้สามารถจูงใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ผู้พูดต้องกระทำได้ตามที่พูด หรือเป็นตัวอย่างอันดีต่อผู้ฟัง”

อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 6 ฉบับที่ 139 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 กันยายน 2551