พลังการพูดตอน การพูดแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้า

การเตรียมตัวในการพูดมาก่อนล่วงหน้า ย่อมทำให้เกิดความมั่นใจและก่อให้เกิดความสำเร็จได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหากมีการพูดที่เกิดในโอกาสที่เราไม่คาดคิดหรือไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน เราจะมีหลักอย่างไรล่ะ ที่จะทำให้การพูดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โอกาสในการพูดแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน มักจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอกับนักขาย เพราะลูกค้าที่เราไม่ตั้งใจที่จะพบมักมีโอกาสได้พบมากกว่าที่เราตั้งใจจะพบ ซึ่งโอกาสแบบนี้เป็นโอกาสที่เราต้องดึงศักยภาพและความรู้ทั้งหมดในตัวของเรา ออกมาแก้ไขสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้ดีที่สุด

การพูดแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้า ควรมีหลักคิดเป็นเบื้องต้น คือ

๑.นึกถึงเรื่องที่เราจำได้แม่นที่สุด หรือชำนาญที่สุด สิ่งที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้กับชีวิตของเราได้ดีที่สุดก็คือ เรื่องที่เราจำได้แม่นที่สุดหรือชำนาญที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่เราคุ้น สามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลานึกและย่อมมีการเรียบเรียบ ได้ดีในระดับหนึ่ง นับว่าเป็นวัตถุดิบที่ดีที่สุดสำหรับเรา สำหรับนักขายจึงควรต้องพิจารณาดูว่า เรามีความรู้ความชำนาญในสินค้าชนิดใด ประเภทใดในบริษัทของเรามากที่สุด ก็ให้นำเรื่องนั้นมาพูด เพื่อที่จะได้นำมานำเสนอให้เกิดความน่าสนใจและทำให้เขาอยากใช้สินค้าเรา หรือถ้าเรามีความชำนาญในเรื่องแผนการตลาด ก็ควรจะนำมาพูดก่อน แม้เราอยากจะพูดเรื่องสินค้าก็ตาม

๒.พยายามนึกถึงถ้อยคำคม ๆ ที่คุ้นเคยที่สุด ถ้อยคำ ช่วยย้ำเตือนความทรงจำ และภาพแห่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ความประทับใจของเราที่เกิดขึ้นในเรื่องสินค้าหรือแผนการตลาด มักจะได้รับการถ่ายทอดจากทีมงาน มีคำใดที่เราคุ้นเคยและจำแม่นหรือคุ้นเคยมากที่สุด พยายามนึกถึงและนำคำเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับผู้มุ่งหวังที่เราพบแบบไม่รู้ ตัว ซึ่งคำเหล่านี้คนพูดพยายามขัดเกลามาให้มีความไพเราะและมีคุณค่าในตัวอยู่ แล้ว เมื่อเรานำมาถ่ายทอดต่อ ย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายคลึงกับเรา (แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเราว่าถ่ายทอดได้ดีแค่ไหน) เช่น ความจนไม่ใช่กรรมพันธุ์ คนเท่านั้นที่ลิขิตชีวิตคน พลิกชีวิตความเป็นมหาเศรษฐีได้เพียงแค่เปลี่ยนความคิด ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกกุหลาบ คนที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะผ่านขวากหนามไปได้

๓.พูดให้ตรงประเด็นมากที่สุด การพูดแบบไม่เตรียมตัวให้มีคุณภาพมากที่สุด ควรระลึกเสมอว่า การพูดของเราต้องพูดให้ตรงประเด็นมากที่สุด เช่น อยากชวนเขามาร่วมทำธุรกิจเครือข่ายกับเรา ก็พูดเรื่องชวนทำธุรกิจอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งต้องคำนึงด้วยว่า จะชวนโดยจะนำเสนอเรื่องเงิน เรื่องเพื่อน เรื่องความมั่นคง เรื่องมรดก เรื่องการเปลี่ยนฐานะ เป็นต้น ถ้าอยากขายสินค้าให้กับเขาก็พูดเรื่องสินค้าอย่างเดียว แต่ก็ต้องเลือกสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งและต้องเจาะลงไปด้วยว่า จะให้สินค้าของเราช่วยเหลือคู่สนทนาในด้านใด เพราะส่วนประกอบมีหลายชนิด ถ้าพูดทั้งหมดจะทำให้ไม่มีอะไรเด่นเลย เลือกเพียงคุณสมบัติเดียวแล้วเจาะให้ลึก พูดให้เห็นความสำคัญให้มากที่สุด เพื่อให้เขาเห็นด้วยคล้อยตามเราให้มากที่สุด การพูดให้ตรงประเด็นจะทำให้เราสามารถควบคุมการพูด อารมณ์ และความรู้สึกได้อย่างง่าย ที่สำคัญก็คือ จะทำให้การพูดของเราไม่สับสน ซึ่งเราเองก็ไม่สับสน วกไปวนมา คนพูดก็ไม่สับสน เข้าใจง่ายอีกด้วย ข้อควรระวังในการพูดให้ตรงประเด็นก็คือ เราจะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เราออกนอกประเด็นและป้องกันคู่สนทนาดึงเราออกนอกประเด็นเช่นกัน

๔.หาจังหวะเพื่อจะจบการพูดให้เร็วที่สุด การพูดแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้า ที่จะให้ได้ผลดีประการหนึ่งก็คือ พยายามจบการพูดให้เร็วที่สุด กล่าวคือพยายามจบการพูดของเราให้เร็วที่สุด เนื่องจากว่าเราไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า การเรียงลำดับเรื่องของเราย่อมไม่ดีพร้อมเท่ากับการเตรียมตัวมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราต้องการโน้มน้าวใจให้เขาตัดสินใจในการร่วมธุรกิจ เครือข่ายหรือซื้อสินค้าของเรา จะต้องทำในระยะเวลาสั้น เพื่อให้มีโอกาสได้ปิดการขายให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด แต่ที่สำคัญที่สุดของความไม่ประมาทและเพื่อสร้างความสำเร็จในการขายให้มาก ที่สุด เราก็ต้องเตรียมความพร้อมและซักซ้อมในกรณีที่ถ้าเราได้เจอลูกค้าแบบไม่ได้ ตั้งตัว เราจะพูดอะไรบ้าง และพูดแบบไหนบ้าง เพื่อจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดและเสียดายโอกาสที่วิ่งเข้ามาหาเราแบบไม่ได้ ตั้งตัว ความไม่ประมาทย่อมเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ

ก่อน จากกันฉบับนี้ขอฝากวาทะเสริมสร้างพลังปัญญาสำหรับนักขาย จาก ร้อยเอก ศ.ดร.จิตรจำนงค์ สุภาพ ในการพูดแบบไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่า “การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ในผลิตภัณฑ์ของตนอยู่เป็นประจำ จะช่วยให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยามคับขันได้ดี”

อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 6 ฉบับที่ 142 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-31 ตุลาคม 2551